Mollusc shell-inspiration ของ โครงสร้างเปลือกหอย

super-glass

ความเหนียวของเปลือกหอยซึ่งประกอบด้วย brittle minerals ได้สร้างแรงบันดาลใจในการผลิตแก้วที่แข็งแรงกว่ากระจกบานมาตรฐานถึง 200 เท่า แร่ธาตุถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นหน่วยที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จาก abundant tiny fault lines จำนวนมากที่เรียกว่าอินเตอร์เฟส ซึ่งเป็นตัวรับแรงดันหรือแรงกดจากภายนอกที่สำคัญ ทีมวิจัยใช้เลเซอร์สามมิติในการแกะสลักด้วยกล้องจุลทรรศน์ด้วยการแยกเป็นแผ่นแก้วแล้วเติมด้วยโพลิเมอร์ พบว่าส่งผลให้แก้วแข็งขึ้น 200 เท่า กระจกสามารถดูดซับแรงกระแทกได้ดีกว่า ให้ผลผลิตและงอเล็กน้อยแทนที่จะแตก ภาชนะที่ทำจากแก้วมาตรฐานจะแตกถ้ามันหล่นลงบนพื้นแต่ภาชนะที่ทำจากแก้วที่ได้รับแรงบันดาลใจจากชีวภาพมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยโดยไม่เกิดการแตกร้าวอย่างสมบูรณ์

หอยแมลงภู่

เกคเคล (Geckel)

กาวที่ได้ไอเดียมาจากตีนตุ๊กแก-หอยแมลงภู่ เท้าของตุ๊กแกประกอบไปด้วยโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายกับเส้นขนจำนวนมากมายมายมหาศาล เรียกเส้นขนเหล่านั้นว่า พิลลาร์ (Pillar) และแต่ละเส้นขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 200 นาโนเมตร พิลลาร์จำนวนมากมายนี้ทำให้ประสิทธิภาพการเกาะติดของตุ๊กแกเป็นเลิศ โดยมันจะสร้างแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของพื้นผิวที่สัมผัสกับพิลลาที่เท้าของมัน เรียกว่า แรงแวนเดอร์วาลล์ (van der Waals) ซึ่งเป็นแรงอย่างอ่อนแต่เกาะติดแน่นเพราะมีจุดสัมผัสของพิลลาอยู่นับล้านๆ จุด ทันทีที่ตุ๊กแกยกเท้าขึ้นแรงยึดติดก็จะหายไป เมื่อวางเท้าลงใหม่ก็เกิดแรงดึงดูดขึ้นอีกครั้ง แต่ความสามารถนี้จะลดลงเมื่อเป็นพื้นผิวเปียกน้ำ จึงได้นำไปผสานกับความสามรถในการยึดเกาะของหอย 2 ฝาเมื่ออยู่ใต้น้ำ พบว่าหอยยึดเกาะได้ดีเพราะมีโปรตีนชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่คล้ายกาว โปรตีนนี้มีกรดอะมิโน 3,4-แอล-ไดไฮดรอกซีฟีนิลอะลานีน หรือดีโอพีเอ (3,4-L-dihydroxyphenylalanine: DOPA)เป็นองค์ประกอบสำคัญ ทีมวิจัยได้ทดลองสร้างวัสดุที่ประกอบด้วยเส้นพิลลาจำนวนมาก เส้นพิลลาทำขึ้นจากซิลิโคน แต่ละเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 400 นาโนเมตร สูง 600 นาโนเมตร และเคลือบด้วยแผ่นโพลิเมอร์สังเคราะห์ของดีโอพีเอ ซึ่งทีมวิจัยเรียกวัสดุเลียนแบบเท้าตุ๊กแกและหอยแมลงภู่นี้ว่า “เกคเคล” (Geckel) เมื่อนำเกคเคลไปทดสอบประสิทธิภาพการยึดติดกับวัสดุต่างๆ พบว่าให้ผลดีทั้งพื้นผิวแห้งและเปียก ทั้งเรียบและขรุขระ และยังใช้หมุนเวียนได้ถึง 1,000 ครั้ง แต่เมื่อลอกโพลิเมอร์ดีโอพีเอ ประสิทธิภาพเกคเคลจะด้อยลงทันที แสดงว่าโพลิเมอร์ของกรดอะมิโนดีโอพีเอเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การยึดเกาะติดแน่น การค้นพบครั้งนี้อาจนำไปสู่การพัฒนากาวที่ใช้ในน้ำสำหรับอุดรอยรั่วบนเรือ รวมถึงใช้ยึดติดอุปกรณ์ต่างๆ ใต้น้ำ การก่อสร้างใต้น้ำในอนาคต และวัสดุทางการแพทย์

ขั้นบันไดเวียน

บันไดเวียนหอยทาก แรงบันดาลใจโดมกันความร้อน

เปลือกของหอยฝาเดียวเมื่อเจริญข้นมาจะเกิดการขดตัว (Coiling) ของเปลือก ทำให้เกิดลักษณะเป็นเกลียวเหมือนขั้นบันไดเวียน โดยทั่วไปการขดวนจะเป็นการวนตามเข็มนาฬิกา และจะมีช่องเปิดที่วงล่างสุด แต่มีส่วนท่คล้ายกันคือเส้นที่บริเวณฝาปิด บันไดเวียนหรือบันไดวนนั้นได้รับความนิยมเนื่องมาจากความสวยงามและประโยชน์ใช้สอยของมัน บางครั้งในหอคอยที่สูงการสร้างบันไดเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเนื่องจากจะมีคสามชันมากเพราะพื้นที่น้อย หากแต่ถ้าสร้างแบบโครงสร้างภายในของหอยที่มีลักษณะเวียนจะทำให้ความชันลดลงและสามารถสร้างได้ในที่ที่มีพื้นที่แคบเช่น ประภาคาร หอคอย แม้แต่สถานีดับเพลิงขาดเล็ก

โดมกันความร้อน

หอยทากเป็นจำนวนมากบนพื้นผิวที่แห้งแล้งและแห้งแล้งในทะเลทรายร้อน ในขณะที่อุณหภูมิอากาศสูงสุดอาจสูงถึง 43 ° C (109 ° F) อุณหภูมิพื้นผิวอาจสูงถึง 65 ° C (149 ° F) และอุณหภูมิพื้นผิวของทะเลทรายเหล่านี้อาจสูงถึง 70 ° C ในช่วงที่อากาศร้อนในแต่ละวันหอยทากจะถอยลงไปในเปลือกด้านบนซึ่งอุณหภูมิจะเย็นกว่า 50 ° C (122 ° F) และนอกจากนี้หอยทากทะเลทรายรอดชีวิตจากอุณหภูมิสูงได้ เพราะพื้นผิวของเปลือกหอยมีการสะท้อนแสงสูงทำให้เกิดการสะท้อน 95% สำหรับความยาวคลื่นแสงใกล้อินฟราเรด และประมาณ 90% สำหรับวิสสิเบิล

ใกล้เคียง

โครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างของโลก โครงสร้างเปลือกหอย โครงสร้างผลึก โครงสร้างข้อมูลเซตไม่มีส่วนร่วม โครงสร้างกั้นระหว่างเลือดกับอัณฑะ โครงสร้างนิยม โครงสร้างทรงโค้ง โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิก โครงสร้างข้อมูล

แหล่งที่มา

WikiPedia: โครงสร้างเปลือกหอย http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/full... https://www.uibk.ac.at/zoology/marinbio/seminarvor... https://mgronline.com/science/detail/9500000085174 https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/... https://www.academia.edu/12668332/The_formation_an... https://asknature.org/strategy/shell-protects-from... https://m.phys.org/news/2014-01-mollusc-shells-sup... https://pubs.rsc.org/en/content/articlehtml/2012/r... https://en.wikipedia.org/wiki/Brickwork https://en.wikipedia.org/wiki/Flame_structure